วันเสาร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2558

โครงงาน

โครงงาน
เรื่อง การถักผ้าพันคอ
จัดทำโดย
นางสาว จิระภา  ทองลาย เลขที่ 2
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ครูที่ปรึกษา
ครูสุขสวัสดิ์  ขัวเขียว

โรงเรียนลมศักดิ์วิทยาคม
                                                                                                 
                                                                                                                   









ที่มาและความสำคัญ
ด้วยอากาศที่หนาวจัดในช่วงฤดูหนาว  ทำให้ผู้คนหันมาสนใจเพิ่มความอบอุ่นให้แก่ร่างกายในส่วนของอวัยวะต่างๆ  จนบางครั้งกลายเป็นแฟชั่นเพื่อให้เกิดความสวยงามในการสวมใส่  ไม่ว่าจะเป็นหมวก  ถุงมือ  เสื้อกันหนาว   หรือผ้าพันคอ  ที่นำมาสวมใส่เพื่อให้เกิดความอบอุ่นให้แก่ร่างกายตลอดฤดูหนาว ผ้าพันคอก็ถือว่าเป็นที่นิยมมาก  โดยเฉพาะผ้าพันคอที่ถักจากไหมพรม  ดังจะสังเกตได้จากการสวมใส่ ที่ไม่ใช่แค่คลายหนาวเท่านั้น แต่เป็นการแข่งขันความสวยงาม และฝีมือในการถักให้เกิดลวดลายต่างๆ  อย่างมากมาย และหลากหลาย   ที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กมีความรู้ในเรื่องของการงานเพื่ออาชีพ  ที่จะนำไปใช้ในอนาคตได้  กอปรกับหน่วยการเรียนรู้เรื่องเทคโนโลยี ตามหลักสูตรต้องให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลและมีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์  การสืบค้นข้อมูลเรื่องของการถักผ้าพันคอ และหาลวดลายต่างๆ   จากอินเทอร์เน็ตนั้น จะทำให้เกิดทักษะและกลายเป็นเรื่องง่ายที่เกิดองค์ความรู้ในเรื่องของการถักผ้าพันคอจากไหมพรม  สิ่งที่สำคัญที่สุดต้องเลือกอุปกรณ์ที่เด็กๆ สามารถทำได้และไม่เกิดความเบื่อหน่าย เช่น ไม้ตะปู  หรือ บล็อกไม้  หรือ  ลูม   ที่จะทำให้เด็กเกิดความสนุกสนานในการถักไหมพรมได้
วัตถุประสงค์
เพื่อฝึกทักษะการใช้อินเทอร์เน็ตในการสืบค้นข้อมูลที่มีประโยชน์
เพื่อเรียนรู้การถักไหมพรมด้วยไม้ตะปู
เพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และรู้จักใช้ไหมพรมให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ส่งเสริมความคิดเห็นและจินตนาการของนักเรียน
 สามารถนำมาใช้ได้จริงในครอบครัวและคนในชุมชน
 เป็นผลงานที่นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง
 สามารถเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัวและชุมชนได้จริง
   ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
            ได้ผ้าพันคอไหมพรม ที่มีความสวยงามคงทน สามารถเก็บไว้ได้นาน และนำไปใช้ประโยชน์ โดยการเพิ่มความอบอุ่นให้แก่ร่างกายได้ในฤดูหนาว
วิธีเลือกซื้อไหมพรหม
 วีนัสเขาเรียกไหมชนิดนี้ว่า venus soffur น่าจะมาจากคำว่า soft และก็ fur ก็ตามตัวเลยค่ะ นิ่มๆ เหมือนขนสัตว์
ข้อดี - นิ่ม ฟู หาซื้อได้สะดวก
ข้อเสีย - สำหรับเพื่อนๆทีมีพลังพิเศษ จะไม่ค่อยเหมาะกับไหมชนิดนี้ เพราะว่าเวลาทำก้นหอยถ้าดึงแรงไปก็จะขาดได้ง่าย และอีกข้อคือ เวลาเลาะแล้วเนียะ ไหมมันจะแตกและจะทำให้งงยิ่งขึ้น
ข้อสังเกต ฉลากสีเขียว มีรูปน้องหมาและน้องแมวอยู่บนฉลาก 50 กรัม
วิธีทำความสะอาด
- ซักในน้ำอุ่น โดยใช้สบู่อ่อนๆซักนะค่ะ
- ล้างออกในน้ำเย็น อย่าบิดนะค่ะ
- เวลาจะเอาน้ำออก ก็ให้เอาไปใส่ในผ้าขนหนูแล้วก็ขยำๆ แล้วก็เอาออกมาวางผึ่งไว้
- ข้อสำคัญ ห้ามรีดค่ะ
วิธีเก็บไหมพรหม
จึงมีขั้นตอนและวิธีการทำความสะอาดง่ายๆ และสามารถทำได้เอง และทุกคนหรือผู้ที่ใช้สิ่งของที่เป็นไหมพรมก็ควรปฏิบัติด้วยเช่นกันค่ะ เพราะ การทำความสะอาดไหมพรม จะต้องดูแลและรักษาไหมพรมเป็นพิเศษไม่เหมือนกับผ้าทั่วๆไป เพราะจากการท่อหรือถัก ให้ไหมพรมเป็นผื่นนั้นไม่มีความแข็งแรงหรือยึดเกาะกันดีนัก เพราะการถักไม่ได้มีด้ายหรือเข็ม หรือการเย็บติดอย่างมั่นคงเหมือนผ้าอื่นเลย ใช้เพียงการเกี่ยวหรือการถักทอให้เกี่ยวกันไว้แค่นั้นเอง ดังนั้น การทำความสะอาดไหมพรมจึงต้องใช้ความระมัดระวังและใช้ความอ่อนโยนในการทำความสะอาดเป็นอย่างมาก การทำความสะอาด เช่น ซักก็ควรซักด้วยมือ ห้ามซักด้วยเครื่องซักผ้าโดยเด็ดขาดเพราะจะทำให้เสื้อผ้าหรือผ้าพันคอที่ทำจากไหมพรมขาดค่ะ การซักทำความสะอาดจึงควรซักมือเพียงอย่างเดียว การดูแลไหมพรม หรือ การทำความสะอาดไหมพรมก็ควรทำบ่อยๆ เพราะไหมพรมจะจับฝุ่นละอองได้ดีกว่าผ้าอื่นๆ เราก็ควรที่จะทำความสะอาดบ่อยค่ะ
ดังนี้การทำความสะอาดไหมพรมที่ถูกวิธีก็เป็นการยืดอายุการใช้งานให้กับเครื่องใช้หรือเสื้อผ้าไหมพรมของเราให้มีอายุการใช้งานที่นานให้คุ้มค่ากับราคา หรือถ้าทำเองก็ให้คุ้มค่ากับที่เราได้ใช้เวลาในการทำอาจจะนาน และดูแล้วสะอาดตาและเป็นผลดีต่อผู้ใช้ด้วยค่ะ
                                          วัสดุอุปกรณ์ และวิธีการดำเนินการ
วัสดุอุปกรณ์
1.             ไหมพรหม
2.             บล็อกไม้
3.             โครเซต์


วิธีการดำเนินการ                 
1.            เกี่ยวไหมด้วยร่องที่บล็อก
2.            พันอ้อมหลักตะปูโดยเริ่มจากด้านบน ลงมาล่าง แล้วอ้อมด้านบนใหม่ไปเรื่อยๆพันอ้อมจนได้ความยาวที่ต้องการ ไม่จำเป็นต้องทำจนสุดไม้ก็ได้
3.             จากนั้น นำไหมเส้นที่ตัดเอาไว้ มาพันรอบไหมที่เกี่ยวกับตะปูให้รอบ แล้วผูกเงื่อนเป็นไว้เพื่อที่จะแก้ออกได้ง่าย
4.              จากนั้นกดไหมลงไปให้ชิดกับไม้ พร้อมทั้งขยับปมที่ผูกไว้ลงไปด้านล่างเพื่อที่จะได้ไม่เกะกะการทำงาน
5.             จากนั้นพันไหมกลับมาให้ทับรอยตามแนวชั้นล่าง
6.             จากนัั้นเอาเข็มสอดเข้าที่ห่วงด้านล่าง
7.             แล้วควักข้ามห่วงอันบน ไปไวบนไหมที่ขึงอยู่ด้านบน
8.             ห่วงที่ที่มีชั้นเดียวไม่ต้องควัก  ทำให้ครบทุกห่วงจะได้ดังภาพ
9.             จากนั้นกดไหมลงไปให้ชัดกับไม้ด้านล่าง
10.     พันไหมกลับมาให้ทับรอยตามแนวชั้นล่าง






























ภาคผนวก



คำอธิบาย: C:\Users\Admin\AppData\Local\Microsoft\Windows\INetCache\Content.Word\IMG_20130101_072237.jpg

บล็อกไม้                                    
คำอธิบาย: C:\Users\Admin\AppData\Local\Microsoft\Windows\INetCache\Content.Word\IMG_20150306_193710.jpg
    โครเซต์



                                                                  
คำอธิบาย: C:\Users\Admin\AppData\Local\Microsoft\Windows\INetCache\Content.Word\IMG_20150307_111840.jpg
คำอธิบาย: C:\Users\Admin\AppData\Local\Microsoft\Windows\INetCache\Content.Word\IMG_20150307_132551.jpg     คำอธิบาย: C:\Users\Admin\AppData\Local\Microsoft\Windows\INetCache\Content.Word\IMG_20150307_124737.jpgคำอธิบาย: C:\Users\Admin\AppData\Local\Microsoft\Windows\INetCache\Content.Word\IMG_20150307_112107.jpg


คำอธิบาย: C:\Users\Admin\AppData\Local\Microsoft\Windows\INetCache\Content.Word\IMG_20150308_101215.jpg


เอกสารอ้างอิง

sarayutpittarate.blogspot.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น